เงินสนับสนุนการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่น
ระดับอุดมศึกษา

วัตถุประสงค์

กิจกรรมนี้เป็นการมอบเงินสนับสนุนด้านการวิจัยซึ่งผู้รับสามารถนำไปใช้อย่างอิสระ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการวิจัยให้แก่มหาวิทยาลัยหรือบัณฑิตวิทยาลัยที่มีการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นรวมทั้งผลิตบุคลากรด้านการสอนภาษาญี่ปุ่น มูลนิธิริเริ่มโครงการนี้มาตั้งแต่ปี 2564 ด้วยความประสงค์ที่จะอุทิศตนเพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย โดยมอบเงินสนับสนุนที่สามารถใช้ได้อย่างอิสระให้แก่มหาวิทยาลัยหรือบัณฑิตวิทยาลัยที่ทุ่มเทในการสอนภาษาญี่ปุ่น เพื่อให้นำไปใช้ประโยชน์กับการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่น ขณะเดียวกันทางมูลนิธิจะประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยหรือบัณฑิตวิทยาลัยที่ได้รับเงินสนับสนุน ในการคัดเลือกผู้รับเงินสนับสนุนครั้งแรก มูลนิธิได้มอบเงินสนับสนุนให้แก่มหาวิทยาลัยและบัณฑิตวิทยาลัยจำนวน 10 แห่ง และจะยังคงมอบให้แก่มหาวิทยาลัยหรือบัณฑิตวิทยาลัยที่เป็นผู้รับเงินสนับสนุนรายใหม่ในปีที่สอง และตั้งแต่ปีที่สามเป็นต้นไปคณะกรรมการคัดเลือกจะพิจารณาความต่อเนื่องในการให้ทุนตามรายงานการใช้เงินสนับสนุน มูลนิธิต้องการสานต่อโครงการเงินสนับสนุนนี้ในระยะยาวจึงได้จัดการคัดเลือกผู้รับเงินสนับสนุนรายใหม่ครั้งที่ 2 ขึ้นในครั้งนี้ ทางมูลนิธิหวังว่าทุกท่านจากมหาวิทยาลัยหรือบัณฑิตวิทยาลัยที่มีหลักสูตรเกี่ยวกับภาษาญี่ปุ่นจะเข้าใจวัตถุประสงค์ ของโครงการ และให้ความร่วมมือกับมูลนิธิในการคัดเลือกผู้รับเงินสนับสนุน

 


กลุ่มเป้าหมายของการมอบเงินสนับสนุน

มหาวิทยาลัยและบัณฑิตวิทยาลัยในประเทศไทยที่มีคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้ โดยจะคัดเลือกสถานศึกษาที่ได้รับเงินสนับสนุนจากจำนวนสถานศึกษาที่ส่งแบบสอบถามสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นที่มูลนิธิส่งให้ภายในเวลาที่กำหนด 

บัณฑิตวิทยาลัยที่เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโทหรือปริญญาเอก
หรือปริญญาโทและปริญญาเอกที่เกี่ยวข้องกับภาษาญี่ปุ่น

มหาวิทยาลัยหรือบัณฑิตวิทยาลัยที่ผู้สำเร็จการศึกษา
จะได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูสอนภาษาญี่ปุ่น

มหาวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยราชภัฏ (มหาวิทยาลัยผลิตครู) (ระดับปริญญาตรี) ที่มีสาขาวิชาเอกที่เกี่ยวข้องกับภาษาญี่ปุ่น

อย่างไรก็ตาม หากมหาวิทยาลัยแห่งเดียวกันที่เปิดสอนทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอกจะถือว่ามีสิทธิรับเงินสนับสนุนแยกกัน ระดับปริญญาตรีเป็น 1 สิทธิ และบัณฑิตวิทยาลัย (ปริญญาโท / ปริญญาเอก) เป็นอีก 1 สิทธิ กรณีที่มหาวิทยาลัยแห่งเดียวกันเปิดหลักสูตรวิชาเอกภาษาญี่ปุ่นในหลายคณะ หลายพื้นที่หรือหลายวิทยาเขต ให้ถือว่ามีสิทธิรับเงินสนับสนุนเพียง 1 สิทธิ

สาระสำคัญของเงินสนับสนุน

จำนวนเงินและจำนวนการสนับสนุน

สถาบันศึกษาที่ละ 500,000 เยนต่อปี (จ่ายเป็นเงินบาท)
สำหรับสถาบันที่ได้รับคัดเลือกให้รับเงินสนับสนุนรายใหม่ในปีนี้  ในปีที่ 2 ก็ยังคงจะได้รับเงินสนับสนุนจำนวนเดิมอย่างต่อเนื่อง และสำหรับเงินสนับสนุนต่อเนื่องตั้งแต่ปีที่ 3 เป็นต้นไป คณะกรรมการคัดเลือกจะตัดสินว่าจะมอบเงินสนับสนุนต่อหรือไม่โดยพิจารณาจากรายงานการใช้เงินสนับสนุน 

จำนวนการสนับสนุนใหม่ในครั้งนี้ ทั้งหมด 5 สถาบันศึกษา

วันมอบเงินสนับสนุน ระยะเวลาการใช้เงิน และวันที่ส่งรายงานการใช้เงิน

วันมอบเงินสนับสนุน

วันที่ 1 พฤษภาคม 2567

ระยะเวลาการนำเงินไปใช้

วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 ถึงวันที่ 
30 เมษายน 2568 (โปรดใช้เงินสนับสนุนภายในระยะเวลาที่กำหนด)

วันส่งรายงานการใช้เงิน

ภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2568

การนำเงินสนับสนุนไปใช้

สามารถนำเงินไปใช้ได้อย่างอิสระ โดยใช้เป็นเงินสนับสนุนการวิจัยเกี่ยวกับ

“การเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่น”

ตัวอย่างการนำเงินสนับสนุนไปใช้

  • ค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรม เช่น ค่ายภาษาญี่ปุ่นเพื่อแนะนำเกี่ยวกับวิธีการศึกษาภาษาญี่ปุ่น การประกวดสุนทรพจน์ภาษาญี่ปุ่น เป็นต้น

  • ค่าเดินทางเพื่อการเก็บข้อมูลสำหรับงานวิจัยหรือการนำเสนอผลงานวิจัย

  • ค่าจ้างบุคลากร เป็นต้น


วิธีการคัดเลือกและการประกาศผล

วิธีการคัดเลือก

มูลนิธิจะไม่เปิดรับสมัครทั่วไปเนื่องจากมูลนิธิประสงค์ให้การสนับสนุนเฉพาะมหาวิทยาลัยหรือบัณฑิตวิทยาลัยที่มีศักยภาพเท่านั้น มูลนิธิจะส่งแบบสอบถามเพื่อสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นไปยังผู้รับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและบัณฑิตวิทยาลัยที่มีคุณสมบัติตรงตามข้อ“กลุ่มเป้าหมายของการมอบเงินสนับสนุน" ขอให้ตอบแบบสอบถามและส่งกลับไปยังมูลนิธิ จากนั้นคณะกรรมการการคัดเลือกซึ่งประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญจะคัดเลือกโดยพิจารณาจากข้อมูลในแบบสอบถามที่ส่งกลับมา

อนึ่ง มหาวิทยาลัยหรือบัณฑิตวิทยาลัยที่ส่งแบบสอบถามรอบแรกแล้วกรุณาส่งซ้ำอีกครั้งโดยระบุเฉพาะรายการสำรวจที่จำเป็นต้องเพิ่มหรือแก้ไขข้อมูลจากปีที่แล้วลงในแบบสอบถามสำหรับการปรับข้อมูล

หัวข้อหลักในแบบสอบถาม

  • จำนวนนักศึกษาวิชาเอกภาษาญี่ปุ่น

  • จำนวนศิษย์เก่าที่เป็นครูสอนภาษาญี่ปุ่น

  • จำนวนนักศึกษาวิชาเอกญี่ปุ่นที่ผ่านการทดสอบความสามารถทางภาษาญี่ปุ่น (JLPT) แยกระดับ N1 N2 และ N3

  • จำนวนงานวิจัยที่เผยแพร่เกี่ยวกับการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นและการฝึกอบรมครูผู้สอนภาษาญี่ปุ่น เป็นต้น

  • จุดเด่นของหลักสูตรภาษาญี่ปุ่น (รวมถึงลักษณะเฉพาะ)

  • กิจกรรมที่ดำเนินการเพื่อนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์จริง

  • การดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการสอนภาษาญี่ปุ่นและการฝึกอบรมครูผู้สอนในท้องถิ่น

ระยะเวลาการตอบแบบสอบถามและส่งกลับ : แจกแบบสอบถามประมาณเดือนกรกฎาคม 2566 และส่งคืนภายในวันที่ 21 เดือนกันยายน 2566


ทุนอบรมครู ณ ประเทศญี่ปุ่น

คลิก

เงินสนับสนุนการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นระดับอุดมศึกษา

คลิก

รางวัลและการประกาศเกียรติคุณแด่ผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่วงการการเรียนการสอนภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่น

คลิก


Hakuhodo foundation ใช้คุกกี้เพื่อให้คุณได้รับประสบการณ์ที่ดีในการเข้าใช้งานเว็บไซต์ของเรา

หากคุณยังคงใช้งานบนเว็บไซต์ เราถือว่าคุณยอมรับ นโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)

Hakuhodo foundation ใช้คุกกี้เพื่อให้คุณได้รับประสบการณ์ที่ดี
ในการเข้าใช้งานเว็บไซต์ของเรา หากคุณยังคงใช้งานบนเว็บไซต์
เราถือว่าคุณยอมรับ นโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)